รอยสักลายไทย และ ความหมายของรอยสักBy 88inkblood / มิถุนายน 24, 2024 ชื่อรูป : เผด็จศึกพญายักษ์(ทศกัณฐ์) สไตล์ : นีโอไทย (ลายไทยประยุกต์) เจ้าของรอยสัก : คุณบิว สัก/ออกแบบ :ช่างตุ่น เผด็จศึกพญายักษ์ (ทศกัณฐ์) ทศกัณฐ์ทศกัณฐ์ เป็นกษัตริย์แห่งกรุงลงกา เป็นตัวเอกฝ่ายอธรรมในวรรณกรรมเรื่อง รามเกียรติ์ ลักษณะร่างกายมีผิวสีเขียว มี10พักตร์ 20กร ทรงมงกุฏชัย ดวงตาโพลง ปากแสยะ ทศกัณฐ์นั้นมีความสามารถพิเศษคือการถอดดวงใจออกจากร่างกาย ไปเก็บไว้ที่ปลอดภัย เพื่อทำให้สามารถรอดพ้นจากความตายได้ ทศกัณฐ์นั้นมีนิสัยเจ้าชู้ ด้วยความเจ้าชู้ทศกัณฐ์ได้ไปลักพาตัวนางสีดาจากพระรามที่เป็นพระสวามีของนางสีดา จึงเป็นชนวนเหตุให้เกิดศึกสงครามขึ้นระหว่าง ฝ่ายพระราม กับ ฝ่ายทศกัณฐ์ หนุมานหนุมานเป็นพญาวานรเผือก และเป็นทหารเอกของพระราม มีร่างกายผิวพรรณสีขาว มีขนเป็นเพชร มีกุณฑล(ตุ้มหู) แล้วมีเขี้ยวแก้บนเพดานปาก มีความสามารถหาวเป้นดาวเป็นเดือน และเมื่อถึงคราวแก่ชีวิต หากเมื่อมีลมพัดผ่านร่างกาย จะกลับฟื้นคืนชีวิตได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นพรวิเศษจากพระพาย(เทพแห่งลม) หนุมานมีอีกชื่อ คือ”วายุบุตร” ด้วยเพราะพระพายคอยดูแลเลี้ยงดูตั้งแต่ถึงกำเนิดจากนางสวาหะ และได้ให้พรวิเศษแก่หนุมาน แท้จริงแล้วหนุมานนั้นถือกำเนิดจากอาวุธวิเศษทั้งสามของพระอิศวรที่ขว้างใส่ลงไปในปากนางสวาหะเพื่อให้นางสวาหะพ้นจากคำสาป และหลังจากนั้นหนุมานจึงกระโดดออกมาจากปากของนางสวาหะ โดยจักรแก้วของพระอิศวรนั้นเป็นส่วนหัวของหนุมาน ตรีเพชรนั้นเป็นบริเวณร่างกายกับมือและเท้า ส่วนคทาเพชรนั้นเป็นสันหลังถึงหาง เมื่อหนุมานจะทำลายล้างศัตรูจะสามารถดึงเอาตรีเพชรออกมาจากอกได้ และหลังจากหนุมานกระโดดออกจากปากของนางสวาหะแล้ว พระพายเป็นผู้รับหน้าที่ดูแลหนุมานจากพระอิศวร รามเกียรติ์รามเกียรติ์ เป็นวรรณกรรมที่มีเค้าโครงเนื้อเรื่องมาจากวรรณคดีเรื่อง รามายาณะซึ่งแพร่หลายไปทั่วทวีปเอเชียใต้ รามายาณะนั้นเป็นวรรณกรรมเก่าที่มีอายุมากกว่า2400ปี แต่งโดย “ฤๅษีวาลมีกิ” เป็นชาวอินเดีย โดยแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสฤตและแพร่หลายไปในอารยธรรมต่างๆทั่วเอเชียใด้ สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ของไทยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ใช้สำหรับให้ละครหลวงละเล่น และต่อมามีการแต่งเป็นบทละครโขน สืบต่อมา โดยเนื้อเรื่องของบทละครเป็นการ รบพุ่งทำศึกสงครามระหว่างฝ่ายพระรามกับทศกัณฐ์ รอยสักรูปนี้เป็น”รอยสักลายไทย” (Neothai Tattoo)รอยสักเป็น รอยสักขาวดำ และแต่งเติมสีบางส่วน จุดเด่นของรูปเป็น รูปหนุมานกำลังหักมุงกุฏชัย ของพญายักษ์ทศกัณฐ์ ในการออกแบบรอยสักเป็นการจัดองค์ประกอบต่างๆของรูปให้เหมาะสมและมีลักษณะโดดเด่น ในบริเวณต่างๆของแขน แยกตามสัดส่วนและมุมมองต่างๆของแขน อย่างลงตัวและสวยงามสอดคล้องกับสรีระของกล้ามเนื้อแขน